วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

หน่วยความจำรอง

   หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในแรมขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ภายหลังได้ ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลได้มากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก อุปกรณ์ความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
1) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ใช้หลักการของการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (random access) กล่าวคือ ถ้าต้องการข้อมูลลำดับที่ 21 หัวอ่านก็จะตรงไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลนั้นขึ้นมาได้ทันที หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า หัวอ่านและบันทึก (read write head)
2) เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลใช้สำหรับการเก็บสำรองข้อมูล (blackup) เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล ใช้หลักการของการเข้าถึงแบบลำดับ (sequential access) ข้อดีของเทปแม่เหล็ก คือ ราคาถูกและเก็บข้อมูลได้มาก เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทุกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทึก (record) เป็นการอ่าน(read) และเขียน (write)
3) ออปติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูลได้จำนวนมากและราคาไม่แพง ออปติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

  • ซีดีรอม (CD-ROM : compack disk-read-only memory) คือ หน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้อีก
  • ซีดีอาร์ (CD-R : compact disk recordable) หน่วยความจำรองที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแแปลงได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมลงแผ่นเดิมได้จนกว่าข้อมูลจะเต็มแผ่น 
  • ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : compact disk rewritable) คือ หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิมได้ หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆ ภายในแผ่นซีดีอาร์ดับลิวได้
  • ดีวีดี (DVD : digital video disk) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมากขึ้น ดีวีดีหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ถึง 17 กิกะไบต์

หน่วยความจำหลัก

หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่ได้รับจากหน่วยรับข้อมูลและเก็บผลลัพธ์ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (primary storage) 
    หน่วยความจำหลักทำงานควบคู่ไปกับซีพียูและช่วยให้การทำงานของซีพียูมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซึ่งซีพียูจะทำหน้าที่นำคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลงความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็นำผลลัพธ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก โดยซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนตอนเช่นนี้เป็นวงรอบเรื่อยไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบคำสั่ง (execution cycle) โดยวงรอบการทำงานของซีพียูนั่นทำงานเร็วมาก หากไม่มีที่เกผ้บหรือพักข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่มีขนาดเพียงพอ จะทำให้การประมวลผลช้าลงตามไปด้วย โดยทั่วไปหน่วยความจำหลัก แบางออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (random access memory : RAM) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แรม เป็นหน่วยความที่จัดเก็บข้อมูลในขณะที่ซีพียูกำลังประมวล หรือ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หน่วยความจำประเภทนี้ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงาน เพื่อไม่ให้สูญหาย
1.1 แรมหลัก (main RAM) ใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง หรือโปรแกรมในระหว่างการทำงานของซีพียู โดยซีพียูสามารถเข้าถึงข้อมูลและคำสั่งในแรมอย่างรวดเร็ว
1.2 แรมวิดีทัศน์ (video RAM) ใช้เก็บข้อมูลสำหรับจอภาพ ทำให้สามารถส่งภาพไปที่จอได้เร็วขึ้น นิยมใช้กับการเล่นเกมและงานด้านกราฟิก เพื่อช่วยให้ภาพปรากฏที่หน้าจอได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติการวัดขนาดของหน่วยความจำ นิยมใช้วัดโดยใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร 1 ตัว โดยคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดหน่วยความจำที่ใหญ่มากจะทำงานได้เร็วมากขึ้น ซึ่งหน่วยวัดมีขนาดใหญ่ ดังนี้
       1 Byte (ไบต์)          =       1 ตัวอักษร
       1 KB (กิโลไบต์)     =       1,024 ตัวอักษร      (ประมาณ 1 พันตัวอักษร)
       1 MB (เมกะไบต์)   =       1,048,576 ตัวอักษร  (ประมาณ 1 ล้านตัวอักษร) 
       1 GB (กิกะไบต์)     =       1,073,741,824  ตัวอักษร  (ประมาณ 1 พันล้านตัวอักษร)
2) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (read only memory : ROM) เรียกอีกชื่อว่า รอม เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตติดตั้งชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ โดยรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยง นั่นคือ เมื่อปิดเครื่องแล้ว และเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่ผู้ใช้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งในรอมได้

วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง 
หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (CPU) เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผล เพื่อหาผลลัพผะืหรือสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การจัดทำรายงาน เป็นต้น ดังนั้น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเปรียบเสมือนสมองของมนุษย์ที่สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อหาผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ต้องการได้ ซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะถูกบรรจุในชิปที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocesser) 
   ซีพียูทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ข้อมูลนำเข้า (input device) ตามคำสั่งใดๆในโปรแกรมที่เตรียมไว้ 
   ความเร็วของซีพียูจะถูกควบคุมโดยสัญญาณนาฬิกา (clock signal) ซึ่งเป็นตัวให้จังหวะการทำงานเหมือนกับจังหวะของการเล่นดนตรี หน่วยวัดความเร็วของสัญญาณนาฬิกา ดังกล่าว เรียกว่า เฮิร์ตซ์ (hertz หรือ Hz) ซึ่งเท่ากับ 1ครั้งต่อวินาที โดยปกติแล้วซีพียูจะมีการทำงานที่เร็วมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียูและสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาสำหรับแต่ละรุ่น หน่วยวัดความเร็วของซีพียูที่พบเห็นในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น 
     1,000,000      ครั้งต่อวินาที หรือ 1 Megahertz (1 MHz)
  1,000,000,000  ครั้งต่อวินาที หรือ 1 Gigahertz (1 GHz)
 หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกเป็น 2 หน่วยคือ หน่วยควบคุมและหน่วยคำนวณและตรรกะ
1) หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยอื่นๆของระบบคอมพิวเตอร์ ให้ทำชุดคำสั่งที่ป้อนเข้าคอมพิวเตอร์
2) หน่วยคำนวณและตรรกะ (aritmetic - logic unit ) ทำหน้าที่เปรียบเทียบคำนวณและปฏิบัติการทางตรรกะ
  เรจิสเตอร์ (register) เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลหรือชุดคำสั่งไว้ชั่วคราวในระหว่างการประมวลผลของซีพียู เรจิสเตอร์ในซีพียูมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันไป เช่น ตัวนับระบุตำแหน่งคำสั่ง (program counter : PC) เก็บตำแหน่งที่อยู่ของคำสั่งถัดไปที่จะนำมาประมวลผล (instruction register : IR) เก็บคำสั่งก่อนการกระทำการประมวลผลคำสั่ง (execute) และเก็บข้อมูลชั่วคราว (accumulator) เป็นต้น 
บัส (bus) คือ เส้นทางการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ 

อุปกรณ์กราดข้อมูล

อุปกรณ์กราดข้อมูล (data scaning devices) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้แสงส่องผ่านข้อความ ภาพ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน อุปกรณ์กราดข้อมูลที่นิยมใช้มี ดังนี้
1) สแกนเกอร์ (scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการส่องแสงไปยังข้อความ สัญลักษณ์ หรือภาพที่ต้องการเพื่อทำสำเนาภาพ จากนั้นข้อมูลที่สแกนเนอร์อ่านจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และเก็บเป็นไฟล์ภาพ สแกนเนอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • สแกนเนอร์มือถือ (handheld scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่มีขนาดเล็ก สามารถถือและพกพาติดตัวได้สะดวก การใช้สแกนเนอร์มือถือนี้ ผู้ใช้ต้องถือตัวสแกนเนอร์เลื่อนผ่านบนภาพหรือเอกสารต้นฉบับที่ต้องการ 
  • สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (sheet scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ผู้ใช้ต้องสอดภาพ หรือเอกสารเข้าไปยังช่องสำหรับอ่านข้อมูล เครื่องสแกนเนอร์ชนิดนี้เหมาะสำหรับการอ่านเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษ แต่ไม่สามารถอ่านเอกสารที่เย็บเป็นเล่มได้ 
สแกนเนอร์แบบแท่น (flatbed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขั้นตอนการทำงานโดยการวางกระดาษเอกสารต้นฉบับที่ต้องการไปบนเครื่องสแกนเนอร์ ทำให้ใช้งานได้ง่าย
2) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (barcode reader) รหัสบาร์โค้ดเป็นสัญลักษณ์รหัสแท่ง ใช้แถบสีขาวสลับดำ แถบมีขนาดความหนาบาง ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ด้านล่างของรหัสบาร์โค้ด ส่วนใหญ่นิยมใช้แทนการพิมพ์รหัสสินค้าในระบบการขายสินค้า การนำเข้าข้อมูลจากรหัสบาร์โค้ดเป็นวิธีที่รวดเร็ว และลดความผิดพลาดจากการพิมพ์ข้อมูล รวมทั้งให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี
      การอ่านบาร์โค้ดต้องอาศัยเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งมีหลักการทำงานโดยการสะท้อนแสง เพื่ออ่านข้อมูลสินค้าจากฐานข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ แล้วจึงทำการประมวลผลข้อมูลนั่น
3) เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (optical character reader : ORC) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงข้อมูลจากภาพของตัวอักขระลายมือเขียน หรือตัวอักษร (text) ที่แก้ไขได้ด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Microsoft Office Word , Adobe PageMaker เป็นต้น

อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง

    อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ทำให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งจะรับข้อมูลจากการชี้ คลิก ดับเบิลคลิก ลากและวาง จากนั้นข้อมูลจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ปกติตัวชี้ตำแหน่งของเมาส์เป็นแบบลูกศร และมีกลไกภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับได้ว่าเมาส์เลื่อนตำแหน่งไปมากน้อยแค่ไหน อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่นิยมใช้ มีดังนี้

1) เมาส์แบบทั่วไป (mechanical mouse) เป็นเมาส์ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป

2) เมาส์แบบแสง (optical mouse) เป็นเมาส์ที่ออกแบบโดยใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง โดยวงจรภายในเมาส์จะวิเคราะห์สะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเมาส์เปลี่ยนทิศทางเป็นการชี้ทาง

3) เมาส์แบบไร้สาย (wireless mouse) เมาส์ที่ใช้คลื่นวิทยุหรือแสงอินฟราเรดในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก
   หลักการทำงานของอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่อำนวยความสะดวกในการใช้ทำงานมากมาย ได้แก่

  • ลูกกลมควบคุม (track mouse) เป็นอุปกรณ์ที่มีลูกบอลขนาดเล็กวางอยู่ด้านบน ผู้ใช้สามารถหมุนลูกบอลเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
  • แท่งชี้ควบคุม (track point) เป็นแท่นพลาสติกเล็กๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ ผู้ใช้สามารถเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดและเลื่อน 
  • แผ่นรองสัมผัส (touch pad) เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ของโน๊ตบุ้กคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วเคลื่อนที่ผ่านไปยังตำแหน่งต่างๆ เพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
  • จอยสติ๊ก (joystick) ให้ก้านสำหรับใช้โยกไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อย้ายตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ และมีแป้นกดสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ 
  • เมาส์ที่ควบคุมด้วยเท้า (foot mouse) เป็นเมาส์ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้มือในการควบคุมเมาส์แบบปกติได้ โดยเมาส์ชนิดนี้จะเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งและคลิกได้ด้วยเท้า 
  • เมาส์ที่ควบคุมด้วยตา (eye tracking) เป็นเมาส์ที่ออกแบบสำหรับการควบคุมตัวชี้ตำแหน่งด้วยสายตาหรือเรตินา
ไจโรสโคปิก เมาส์ (gyroscopic mouse) เป็นเมาส์ที่ควบคุมตัวชี้ตำแหน่งโดยไม่ต้องใช้พื้นผิวสัมผัส ผู้ใช้สามารถเคลื่อนไหวเมาส์ในอากาศ เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพได้ทันที

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

หน่วยรับเข้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุปกรณ์แบบกด



หน่วยรับเข้า (input ) เป็นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ และแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ 

ข้อมูลเข้า (input) ประกอบด้วยข้อมูล (data) และคำสั่ง (program) โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบของอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งข้อมูลอาจถูกนำเข้าเมื่อผู้เปิดโปรแกรม เช่น เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม Microsoft Office Word ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษรและสัญลักษณ์ รวมทั้งรับคำสั่งเพื่อการจัดเก็บ (save) ข้อมูล เป็นต้น หน่วยรับเข้าจึงมีอุปกรณ์มากมายที่มีความสามารถในการรับข้อมูลเข้าที่มีรูปแบบแตกต่างกันไป
    อุปกรณ์หน่วยรับเข้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
1) อุปกรณ์แบบกด (keyed device) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยปุ่มสำหรับกด เพื่อป้อนข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แบบกดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ แป้นพิมพ์ พิมพ์ตัวเลข การเรียกใช้ฟังก์ชั่นของซอฟต์แวร์ และการควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ
1.1 แป้นพิมพ์ไร้สาย (corsless keyboard) แป้นพิมพ์ที่ออกแบบเพื่อส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สาย และทำงานโดยพลังแบตเตอรี่ ทำให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
1.2 แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (ergonomics keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความเสี่ยงการได้รับบาดเจ็บของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
1.3 แป้นพิมพ์พกพา (portable keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับเครื่องพีดีเอ มีทั้งแบบพับและแบบที่ทำจากยางซึ่งสามารถม้วนเก็บได้ ทำให้ใช้งานได้สะดวก
1.4 แป้นพิมพ์เสมือน (virtual keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอ ซึ่งใช้เลเซอร์ในการจำลองภาพให้เสมือนแป้นพิมพ์จริง

ชนิดของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์



การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แบ่งไดเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มที่เลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเรียกว่าเครื่องแบรนด์เนม (brand name) ทั้งแบรนด์เนมของไทยและของต่างประเทศ เช่น Laser, Powell , IBM , Acer , Atec เป็นต้น
2.กลุ่มที่เลือกซื้อเครื่องสั่งประกอบตามร้านค้าคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เช่น ที่พันธ์ทิพย์พลาซ่า เสรีเซนเตอร์ หรือจากร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็นต้น
3.กลุ่มที่เลือกซื้ออุปกรณ์ที่เป็นชิ้นๆ แล้วมาประกอบเองที่บ้าน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชนิดการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้น ผู้ใช้ควรวางแผนและหาข้อมูลในการเลือกซื้อไว้ก่อนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเองหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มียี่ห้อต่างๆและควรพิจารณาถึงความต้องการที่จะนำไปใช้ในงานหลัก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่เราใช้นั้นสามารถเอื้ออำนวยในการทำงานของผู้ใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ